วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


ระบบการสื่อสารในการศึกษาทางไกล
     ระบบการศึกษาทางไกลเป็นกระบวนการที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ไกลกัน  จึงทำให้การสอนจำเป็นต้องใช้ระบบการสื่อสารและอุปกรณ์โทรคมนาคมต่าง ๆ มาช่วยเพื่อเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนไปยังผู้เรียน  ระบบการสื่อสารในการศึกษาทางไกลมี  2 ระบบ ได้แก่
     1. การศึกษาทางไกลแบบสื่อสารทางเดียว         เป็นการสื่อสารที่ผู้สอนและผู้เรียนไม่มีการโต้ตอบกันทันที แต่สามารถสื่อสารกันได้ในภายหลัง ด้วยไปรษณีย์ หรือโทรสาร  โดยแพร่สัญญาณด้วยวิทยุ  โทรทัศน์  คอมพิวเตอร์ในระบบอินเตอร์เน็ต         
          วิทยุ          เป็นการส่งสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งทำการแพร่สัญญาณทางอากาศด้วยความถี่คลื่นวิทยุ AM และ FM  จากเครื่องส่งมายังเครื่องรับ  เมื่อนำวิทยุมาใช้ในการศึกษาทางไกลจึงเป็นลักษณะการสื่อสารทางเดียว เนื่องจากผู้เรียนจะได้ยินเพียงเสียงผู้สอนเท่านั้น โดยผู้สอนไม่สามารถรู้ปฏิกิริยาตอบสนองของผู้เรียนได้ โดยผู้เรียนจะตอบสนองด้วยการส่งการบ้าน หรือเขียนจดหมาย
ในบางดปรแกรมการเรียนอาจมีการให้หมายเลขโทรศัพท์กับผู้เรียนเพื่อให้สามารถโทรศัพท์ไปถามปัญหาในการเรียนได้
          โทรทัศน์          เป็นการแพร่สัญญาณจากผู้สอนไปยังผู้เรียนตามสถานที่ต่าง ๆ โดยสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น การส่งสถานีโทรทัศน์ไปยังเครื่องรับโดยตรง  การส่งโดยใช้คลื่นไมโครโฟน  สัญญาณผ่านดาวเทียม และระบบเคเบิลทีวี เป็นต้น ดังนั้นจึงต้องมีการใช้สื่อเสริม เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ
          คอมพิวเตอร์          เป็นการใช้ในลักษณะการสอนใช้เว็บเป็นฐานผ่านทางเวิลด์ไวด์เว็บในอินเตอร์เน็ตในลักษณะ "มหาวิทยาลัยเสมือน" โดยผู้เรียนต้องสมัครเข้าเรียนในสถาบันการศึกษาที่เปิดสอน เมื่อลงทะเบียนแล้วผู้เรียนก็จะได้หมายเลขบัญชีผู้ใช้ และชื่อผู้ใช้  เพื่อต่อเข้าเครื่องบริการของสถาบันนั้น  การเรียนแบบนี้ต้องลงบันทึกเข้า (Login) เพื่อติดต่อกับผู้สอน  ผู้สอนจะจัดให้มีการเรียนเนื้อหาวิชาตามหลักสูตร  โดยผู้เรียนสามารถเข้าไปอ่านในเว็บเพจและทำการค้นคว้าหาความรู้จากเว็บอื่น ๆ ได้  หากมีปัญหา หรือจะส่งการบ้านก็ส่งทาง e-mail ไปยังผู้สอน
       2. การศึกษาทางไกลแบบสื่อสารสองทาง           เป็นการศึกษาที่ผู้สอนกับผู้เรียน มีการเรียนการสอนแบบมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบระหว่างกันเกิดขึ้นทันที  การสอนเป็นการสอนสดผ่านเครือข่าย โดยมีการถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียนในทุกรูปแบบ ทำให้ผู้สอนสามารถทราบการตอบสนองของผู้เรียนได้   แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ
          ลักษณะการเชื่อมต่อในการสื่อสาร          การศึกษาทางไกลทั้งรูปแบบการประชุมทางไกลและห้องเรียนเสมือน จะมีการเชื่อมต่อการสื่อสาร 2 ลักษณะ คือ
          1.แบบจุดต่อจุด (point to point) เป็นการสอนโดยการเชื่อมต่อระหว่างจุดผู้สอนไปยังจุดที่ผู้เรียนนั่งรวมกันอยู่ภายในห้องเดียว
          2.แบบจุดต่อหลายจุด (point to multipoint)  เป็นการสอนโดยการเชื่อมต่อระหว่างจุดผู้สอนไปยังจุดผู้เรียนนั่งรวมกันอยู่หลายจุด
           การประชุมทางไกล  (Teleconference)
           
ระบบการประชุมทางไกลเป็นวิธีการที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปหรือเป็นกลุ่ม ซึ่งอยู่ในสถานที่ต่างกัน  สามารถติดต่อกันในระหว่างเรียน  อภิปราย  หรือการประชุมร่วมกัน โดยอาศัยอุปกรณ์โทรคมนาคมที่ออกแบบมาเฉพาะเพื่อการประชุม
           ในระบบการประชุมทางไกลนั้น สายโทรศัพท์สามารถนำเสียงผู้พูดไปยังจุดหมายปลายทางที่มีผู้รับฟังได้ไกล หรือถ้าหากเป็นการส่งในระยะที่ไกลมากก็จะส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมแทนสายโทรศัพท์